Namthip x งานวิจัยมะเร็ง ตอนที่ 6
ตอนนี้ที่รอคอยยยย
ว่าด้วยเรื่องราวตอนเรียนปริญญาเอก
Scientific Lineage และ Mentor
.
จากเรื่องราวตอนก่อนๆ ตั้งแต่ ม.ต้น
จนปี 6 ป ตรี เภสัช ที่ชีวิตว้าวุ่น
กับการหาแลปเรียนต่อมากกว่าสอบใบประกอบวิชาชีพ
.
การเรียนต่อคือการเบี่ยงเข็มไปในทางที่ยิ่งแคบ
ยิ่งเฉพาะทาง และแน่นอนเส้นทางอาชีพที่แคบลงไปอีก
นี่ทำให้คิดหนักมากว่าเรียนอะไร
ที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ ชอบวิจัยแบบไหนของมะเร็ง
เพราะวิจัยมะเร็งนั้นกว้างมากกกกกกกกก
.
ถึงตรงนี้ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านๆที่ให้โอกาสได้ค้นหาตัวเองว่าชอบวิจัยมะเร็งแบบไหนนะคะ
.
ด้วยเหตุผลหลายๆอย่าง เลยตัดสินใจเรียนปริญญาเอก สาขาเภสัชวิทยา ที่ศิริราช (มันคือ โทควบเอก ถ้าจบ ป ตรีด้วยเกียรตินิยม จะสมัครเรียนแบบนี้ได้เลยไม่ต้องผ่านโท) ซึ่งการเข้าเรียนแบบนี้ก็ถูกนับเป็นนักเรียน ป เอก แต่วิชาเรียนเยอะกว่า
.
การเรียน ป เอก นั้น จุดสำคัญคือทำวิจัยล้วนๆ แทบไม่มีอะไรผสม
เอาหล่ะวะ สมใจอยาก 55555
อยากร่ำไปด้วยทำแลปไปด้วย สภาพพพพ
.
คือวิจัยนี่ไม่ได้เหมือนแลปที่เราทำตอนเรียนมัธยม
ที่ใสๆกุ๊งกิ๊ง เพราะเป็นการทดสอบกฏหรือทฤษฎี
ที่คนทั้งโลกทำมาเป็นล้านครั้งก็ได้ผลเหมือนเดิม
หรือโปรเจคจบตอน ป ตรี ที่ใสๆ ฟรุ้งฟริ้งกระดิ่งแมว
.
วิจัย ป เอก มันคือการสร้างองค์ความรู้ใหม่
และก็เพราะความใหม่นี่แหละ ก็เกี่ยวข้องกับว่า
แล้วช้านนนจะเจอมันมั้ย แล้วทำไงจะเจอ
.
เพราะงี้นี่เองอาจารย์ที่ปรึกษาจึงเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุด
แต่อย่าได้คาดหวังว่าจะเกาะอาจารย์เหมือนปลิงเกาะหน้าแข้ง 555
เข้าไปเรียนแรกๆ อาจารย์บอกเลย
“ผมเป็นสไตล์แบบถีบลงน้ำ ถ้าคุณว่ายใกล้จะเข้าฝั่งได้ ผมก็จะถีบคุณไปอีก”
.
หลังจากนั้นสภาพฉันก็~~~
เหมือนช้างที่ตกน้ำ จมลงไปทั้งตัว ตาลีตาเหลือก โดยมีเพียงปลายงวงเท่านั้นที่โผล่มาสูดอากาศ คาบอ้อย อร๊ายยยย เกือบตายยย แต่พองานวิจัยทำท่าจะไปผิดทางออกทะเล อาจารย์ก็แอบโยนอ้อยแหละ 5555
.
ถึงแม้การเรียน ป เอก จะเป็นไปอย่างชิคๆ
นักเรียนแต่ละคนทำโปรเจคกันไปคนละทิศละทาง
(Stephen Hawing ก็ถูกสอนแบบนี้)
แต่มันเป็นการฝึกเรื่อง independent ที่จบไปก็ต้องเจอ
.
แบบนี้ก็สนุกนะ ทิศทางของงานวิจัยก็คุยได้
ว่าอยากให้เป็นแบบไหน แต่ต้องโน้มน้าวอาจารย์ให้ได้
ว่าทำไมแบบนี้น่าทำ ทำไมจะซื้ออันนั้นอันนี้มาทำวิจัย
จบท้ายด้วยว่า อ ซื้อไอเดียนี้หรือเปล่าคะ
พร้อมแบมือขอตังค์


.
ดูเหมือนการเรียนจะเป็นแบบคิดเอง เออเอง
แต่ที่จริงก็มีหลายๆอย่างที่สนับสนุนให้เองเองได้
ทั้ง journal club, lab meeting,
สังคมพี่ๆน้องๆในแลปและสำคัญสุดคือ
อาจารย์ที่ปรึกษา
.
คิดว่ามันคงเป็นเรื่องของสไตล์ที่ถ่ายทอดกันมาเรื่อยๆ
จากรุ่นสู่รุ่นของการให้คำปรึษา
ซึ่ง อ แต่ละคนก็แตกต่างกัน
ฝรั่งถึงขั้นใช้คำว่า Scientific Lineage เลย
เคยเจอเว็บไซด์ที่นับลูกๆหลานๆทางวิชาการของนักวิจัยดังๆด้วย
.
ถึงกระนั้นอาจารย์ที่ปรึกษาก็ไม่ใช่พระเจ้า
ในเมื่อเรากำลังดีลกับการหาองค์ความรู้ใหม่
ที่ก็คงไม่มีใครนอกจากพระเจ้าที่รู้ว่า
การทดลองนี้งานวิจัยนี้จะไปไกลได้แค่ไหน
หรือทำยังไงถึงจะไขปริศนานี้ได้
นอกจากนีความรู้บนโลกยังกว้างใหญ่ไพศาล
มากมายจนใครจะไปรู้ ไปจำได้ทุกอย่าง
.
“เรื่องนี้ ผมไม่มีความรู้”
นี่เป็นคำที่ออกจากปาก อ ที่ปรึกษาบ่อยๆ
ซึ่งเป็นคำที่เราชอบนะ ตรงไปตรงมาดี
คำนี้มักไม่ได้มาโดดๆหรอก
ส่วนใหญ่ อ ก็จะแนะหน่อยๆว่าน่าจะเริ่มยังไง
แต่ที่ไม่แนะก็มี เอ้ยยยย ยังไงนะ
ก็ต้องงมๆ หาเอง ซึ่งกระบวนการงมก็มีค่า
เพราะครั้งต่อๆไปก็งมเก่งขึ้น เร็วขึ้น
มั่วไปมั่วมาจนช่ำชอง ชำชาญว่างั้นนนนนน
.
สุดท้ายนี้การเรียนปริญญาเอกก็เหมือน
เอาคนไปติดอาวุธ ฝึกปรือให้ทำงานวิจัยได้เอง
บ่อยครั้งที่การทดลองไม่ได้เป็นไปตามคาด
อย่างเดียวที่ต้องรีบเลยคือ ล้มแล้วต้องลุกให้ไว
วางแผนให้ดีดี ถ้าแผนดีแต่ยังพังให้โทษ biology อย่าโทษตัวเองงง นักวิจัยไม่ใช่พระเจ้า ~~~
.
จนผ่านมาถึง 6 ตอนที่เขียนมา
ศาสตร์วิจัยนี้เป็นอะไรที่ลึกซึ้ง
และศาสตร์นี้ต้องการ mentor
ที่ไม่ใช่แค่ชี้นำทางวิชาการ แต่รวมไปถึงเรื่องอื่นๆด้วย
รู้สึกโชคดีที่ได้มาเป็นนักเรียนของอาจารย์
ก็เลยทำของขวัญที่ระลึกสวยๆให้อาจารย์
แม้ว่า 99.99% จะเป็นการก่อกวนบาทาอาจารย์เป็นส่วนใหญ่ อิอิ
ว่าด้วยเรื่องราวตอนเรียนปริญญาเอก
Scientific Lineage และ Mentor
.
จากเรื่องราวตอนก่อนๆ ตั้งแต่ ม.ต้น
จนปี 6 ป ตรี เภสัช ที่ชีวิตว้าวุ่น
กับการหาแลปเรียนต่อมากกว่าสอบใบประกอบวิชาชีพ
.
การเรียนต่อคือการเบี่ยงเข็มไปในทางที่ยิ่งแคบ
ยิ่งเฉพาะทาง และแน่นอนเส้นทางอาชีพที่แคบลงไปอีก
นี่ทำให้คิดหนักมากว่าเรียนอะไร
ที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ ชอบวิจัยแบบไหนของมะเร็ง
เพราะวิจัยมะเร็งนั้นกว้างมากกกกกกกกก
.
ถึงตรงนี้ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านๆที่ให้โอกาสได้ค้นหาตัวเองว่าชอบวิจัยมะเร็งแบบไหนนะคะ
.
ด้วยเหตุผลหลายๆอย่าง เลยตัดสินใจเรียนปริญญาเอก สาขาเภสัชวิทยา ที่ศิริราช (มันคือ โทควบเอก ถ้าจบ ป ตรีด้วยเกียรตินิยม จะสมัครเรียนแบบนี้ได้เลยไม่ต้องผ่านโท) ซึ่งการเข้าเรียนแบบนี้ก็ถูกนับเป็นนักเรียน ป เอก แต่วิชาเรียนเยอะกว่า
.
การเรียน ป เอก นั้น จุดสำคัญคือทำวิจัยล้วนๆ แทบไม่มีอะไรผสม
เอาหล่ะวะ สมใจอยาก 55555
อยากร่ำไปด้วยทำแลปไปด้วย สภาพพพพ
.
คือวิจัยนี่ไม่ได้เหมือนแลปที่เราทำตอนเรียนมัธยม
ที่ใสๆกุ๊งกิ๊ง เพราะเป็นการทดสอบกฏหรือทฤษฎี
ที่คนทั้งโลกทำมาเป็นล้านครั้งก็ได้ผลเหมือนเดิม
หรือโปรเจคจบตอน ป ตรี ที่ใสๆ ฟรุ้งฟริ้งกระดิ่งแมว
.
วิจัย ป เอก มันคือการสร้างองค์ความรู้ใหม่
และก็เพราะความใหม่นี่แหละ ก็เกี่ยวข้องกับว่า
แล้วช้านนนจะเจอมันมั้ย แล้วทำไงจะเจอ
.
เพราะงี้นี่เองอาจารย์ที่ปรึกษาจึงเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุด
แต่อย่าได้คาดหวังว่าจะเกาะอาจารย์เหมือนปลิงเกาะหน้าแข้ง 555
เข้าไปเรียนแรกๆ อาจารย์บอกเลย
“ผมเป็นสไตล์แบบถีบลงน้ำ ถ้าคุณว่ายใกล้จะเข้าฝั่งได้ ผมก็จะถีบคุณไปอีก”
.
หลังจากนั้นสภาพฉันก็~~~
เหมือนช้างที่ตกน้ำ จมลงไปทั้งตัว ตาลีตาเหลือก โดยมีเพียงปลายงวงเท่านั้นที่โผล่มาสูดอากาศ คาบอ้อย อร๊ายยยย เกือบตายยย แต่พองานวิจัยทำท่าจะไปผิดทางออกทะเล อาจารย์ก็แอบโยนอ้อยแหละ 5555
.
ถึงแม้การเรียน ป เอก จะเป็นไปอย่างชิคๆ
นักเรียนแต่ละคนทำโปรเจคกันไปคนละทิศละทาง
(Stephen Hawing ก็ถูกสอนแบบนี้)
แต่มันเป็นการฝึกเรื่อง independent ที่จบไปก็ต้องเจอ
.
แบบนี้ก็สนุกนะ ทิศทางของงานวิจัยก็คุยได้
ว่าอยากให้เป็นแบบไหน แต่ต้องโน้มน้าวอาจารย์ให้ได้
ว่าทำไมแบบนี้น่าทำ ทำไมจะซื้ออันนั้นอันนี้มาทำวิจัย
จบท้ายด้วยว่า อ ซื้อไอเดียนี้หรือเปล่าคะ
พร้อมแบมือขอตังค์



.
ดูเหมือนการเรียนจะเป็นแบบคิดเอง เออเอง
แต่ที่จริงก็มีหลายๆอย่างที่สนับสนุนให้เองเองได้
ทั้ง journal club, lab meeting,
สังคมพี่ๆน้องๆในแลปและสำคัญสุดคือ
อาจารย์ที่ปรึกษา
.
คิดว่ามันคงเป็นเรื่องของสไตล์ที่ถ่ายทอดกันมาเรื่อยๆ
จากรุ่นสู่รุ่นของการให้คำปรึษา
ซึ่ง อ แต่ละคนก็แตกต่างกัน
ฝรั่งถึงขั้นใช้คำว่า Scientific Lineage เลย
เคยเจอเว็บไซด์ที่นับลูกๆหลานๆทางวิชาการของนักวิจัยดังๆด้วย
.
ถึงกระนั้นอาจารย์ที่ปรึกษาก็ไม่ใช่พระเจ้า
ในเมื่อเรากำลังดีลกับการหาองค์ความรู้ใหม่
ที่ก็คงไม่มีใครนอกจากพระเจ้าที่รู้ว่า
การทดลองนี้งานวิจัยนี้จะไปไกลได้แค่ไหน
หรือทำยังไงถึงจะไขปริศนานี้ได้
นอกจากนีความรู้บนโลกยังกว้างใหญ่ไพศาล
มากมายจนใครจะไปรู้ ไปจำได้ทุกอย่าง
.
“เรื่องนี้ ผมไม่มีความรู้”
นี่เป็นคำที่ออกจากปาก อ ที่ปรึกษาบ่อยๆ
ซึ่งเป็นคำที่เราชอบนะ ตรงไปตรงมาดี
คำนี้มักไม่ได้มาโดดๆหรอก
ส่วนใหญ่ อ ก็จะแนะหน่อยๆว่าน่าจะเริ่มยังไง
แต่ที่ไม่แนะก็มี เอ้ยยยย ยังไงนะ
ก็ต้องงมๆ หาเอง ซึ่งกระบวนการงมก็มีค่า
เพราะครั้งต่อๆไปก็งมเก่งขึ้น เร็วขึ้น
มั่วไปมั่วมาจนช่ำชอง ชำชาญว่างั้นนนนนน
.
สุดท้ายนี้การเรียนปริญญาเอกก็เหมือน
เอาคนไปติดอาวุธ ฝึกปรือให้ทำงานวิจัยได้เอง
บ่อยครั้งที่การทดลองไม่ได้เป็นไปตามคาด
อย่างเดียวที่ต้องรีบเลยคือ ล้มแล้วต้องลุกให้ไว
วางแผนให้ดีดี ถ้าแผนดีแต่ยังพังให้โทษ biology อย่าโทษตัวเองงง นักวิจัยไม่ใช่พระเจ้า ~~~
.
จนผ่านมาถึง 6 ตอนที่เขียนมา
ศาสตร์วิจัยนี้เป็นอะไรที่ลึกซึ้ง
และศาสตร์นี้ต้องการ mentor
ที่ไม่ใช่แค่ชี้นำทางวิชาการ แต่รวมไปถึงเรื่องอื่นๆด้วย
รู้สึกโชคดีที่ได้มาเป็นนักเรียนของอาจารย์
ก็เลยทำของขวัญที่ระลึกสวยๆให้อาจารย์
แม้ว่า 99.99% จะเป็นการก่อกวนบาทาอาจารย์เป็นส่วนใหญ่ อิอิ

.
ตอนอื่นๆ ของการบุกดงวิจัยที่เคยเขียนไว้
- ตอนที่ 0: สะเปะสะปะกว่าจะมาถึงเส้นทางวิจัย
- ตอนที่ 1: ค่ายไม่เล็กที่มีแต่ผู้ใหญ่ใจดีปูทางเด็กบ้านนอกสู่เส้นทางวิจัย
- ตอนที่ 2: ตรึงใจเด็ก ม.ปลาย เปิดโลกวิจัยที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
- ตอนที่ 3: ตะลุยดงวิจัย ทำไมวิจัยมีมะเร็งมีหลายแบบจัง
- ตอนที่ 4: รู้จักมะเร็งแบบเหนือชั้น เหนือพันธุกรรมคืออะไร
- ตอนที่ 5: เมื่อฉันรักวิทยาศาสตร์ อย่างที่ไม่สนมะรงมะเร็งอะไรทั้งนั้น
- ตอนที่ 0: สะเปะสะปะกว่าจะมาถึงเส้นทางวิจัย
- ตอนที่ 1: ค่ายไม่เล็กที่มีแต่ผู้ใหญ่ใจดีปูทางเด็กบ้านนอกสู่เส้นทางวิจัย
- ตอนที่ 2: ตรึงใจเด็ก ม.ปลาย เปิดโลกวิจัยที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
- ตอนที่ 3: ตะลุยดงวิจัย ทำไมวิจัยมีมะเร็งมีหลายแบบจัง
- ตอนที่ 4: รู้จักมะเร็งแบบเหนือชั้น เหนือพันธุกรรมคืออะไร
- ตอนที่ 5: เมื่อฉันรักวิทยาศาสตร์ อย่างที่ไม่สนมะรงมะเร็งอะไรทั้งนั้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น