Namthip × งานวิจัยมะเร็ง ตอนที่ 3

.
เท้าความตอนที่แล้ว หลังจากที่จุดเปลี่ยนคือ
การขอเลื่อนสอบเพื่อไปค่าย Thai Sci Camp
ได้ไปดูแลปที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI) 2 ชม.
ทั้งหมดเกิดขึ้นช่วงประมาณ ม.5 แล้ว
อ.ที่ CRI ก็บอกว่าไว้เรียนปี 3 ค่อยกลับมา CRI ใหม่
.
ตอนนั้นรู้สึกว่างานวิจัยน่าจะมีอะไรดีดีที่ทำให้คนไข้รอดจากมะเร็งได้มากขึ้น
หลังจากหาข้อมูลเรื่องมะเร็งมาหลายๆด้าน
ก็พบว่าวิทยาศาสตร์และงานวิจัยน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด
ช่วงหลังจากนั้นก็มีพยายามจะเข้าโครงการนู้นนี่ที่เป็นแนวๆวิทยาศาสตร์
ที่น่าจะทำใหรู้จักงานวิจัยมากขึ้นว่ามันคืออะไร
.
คิดโครงงานขึ้นมาชิ้นนึง คัดเลือกผ่านรอบแรกของโครงการนึงไปแบบงงๆ
เดินทางไปสัมภาษณ์แบบโคตรงงและทุลักทุเล
ในขณะที่เพื่อนคนอื่นๆ มีโน้ตบุคพร้อมงานนำเสนอสุดอลังการที่ชนะเลิศโครงการอื่นมาแล้ว
และก็ต้องยอมรับว่าหลายๆอย่างไม่ได้เอื้ออำนวยนัก
คุณไม่ได้ไปต่อ แต่นี่ก็อาจจะถือว่ามาไกลมากแล้ว
จนถึงตอนนี้ที่เรียน ป เอก อยู่
ก็รู้สึกว่าที่ผ่านมาเจอกลีบกุหลาบบ้าง
ไมยราบบ้าง(ซึ่งดูเหมือนจะมากกว่า 555)
.
อย่างไรก็ยังไม่เลิกบ้า
ยังคงแถกตัวไปตามความฝันต่อไป แม้จะพังๆไปบ้างก็ตาม
ตอน ม.6 อยากเรียนหมอ อยากเป็นหมอที่ทำวิจัยมะเร็ง
มีอาจารย์หมอนักวิจัยคนนึงเป็น idol
(สุดท้ายได้ไปฝึกงานกับ อ ท่านนี้ด้วย)
.
ตอนสอบเข้ามหาลัยก็สอบหมอนั่นแหละ แต่ไม่ติด 5555
ก็เลยเรียนเภสัช ไม่อยากเป็นเภสัชเลย
คิดว่าคงไม่ชอบถ้าต้องนั่งจ่ายยาที่ รพ ทั้งวัน
ไม่รู้ว่าเภสัชทำอย่างอื่นได้ด้วย
แต่พอรู้ว่าเภสัชมีวิจัยยาก็เริ่มสนใจขึ้นมา
.
ก็เรียนเภสัชที่ ม.วลัยลักษณ์
เข้าไปเรียนปีแรก ก็เอาเลยจ้า ไปบอกอาจารย์เลยว่าอยากไปฝึกงาน CRI
ในใจคือทุกอย่างพร้อมแค่ให้เรียนปี 3 กับมีเอกสารจากมหาลัย
.
ระหว่างนั้นก็บุกมาก ด้วยความที่เป็นนักเรียนโครงการโอลิมปิกวิชาการ
ทั้งเคมีและชีวะของ ม.วลัยลักษณ์ อยู่ก่อนแล้ว
ก็ติดต่ออาจารย์ที่รู้จัก อาจารย์ก็แนะนำต่อๆกัน
มีหลายท่านมากที่กรุณามาตั้งแต่มัธยม
.
- อ.สุภาภรณ์ ดอกไม้ศรีจันทร์ ที่ได้แวะไปก่อกวน อ ที่ห้องทำงานบ่อยครั้งเลย เรียกว่าเปิดโลก bioinformatics มาก
- อ.จิตรบรรจง ตั้งปอง แรกๆมักจะแนะนำตัวกับ อ ว่าเด็กมัธยมที่เคยโทรไปปรึกษา อ เรื่องงานวิจัยมะเร็ง ตอนมัธยมมีครั้งนึงไปหา อ ที่ห้องพัก ก็พบว่าห้องใหญ่จังถึงได้รู้จากป้ายหน้าห้องว่า อ เป็นคณบดี >< วันนั้นเป็นการพูดถึงงานวิจัยมะเร็งอีกครั้งนึงที่จำไม่เคยลืม แล้ว อ ก็ได้แนะนำให้รู้จัก อ.วรางคณา จุ้งลก ได้ไปดูแลปเลี้ยงเซลล์ของ อ เค้าด้วย แถมยังได้รู้จักกับพี่โบว์ พี่ ป.เอก ที่ฮามากคือเราเคยเจอกันที่สนามบาสมาก่อน คราวนี้เลยสนิทเลยหล่ะ
- อ.วรพงศ์ ภู่พงศ์ อาจารย์ทำงานเกี่ยวกับสารสกัดธรรมชาติ ได้ไปสิงแลปอยู่พักนึง ไปครั้งแรก อ บอกว่าให้ไปหาพี่รอน เราก็แบบ หูวววว พี่ชื่อรอน แบบรอน วีสลี่ งี้แน่เลย ท่องบทสนทนาภาษาอังกฤษไปเลยจ้า ปรากฏพี่อิมรอนเป็นคนไทย โป๊ะหนึ่งฉึก แลปนี้ครื้นเครงไม่เว้นวันหยุด วันปีใหม่ ยิ่งดึกยิ่งคึก 5555 มีเพลงภาษาอาหรับคลอๆไปด้วย มีทั้งพี่ๆ ป โท ป เอก คือพี่รอน พี่หญิงและอาจารย์ให้ก่อกวนตลอดเวลา ตอนนั้นตึกนวัตกรรมเปิดใหม่ๆเลย เข้าแลปนี่ต้องสแกนนิ้วมือด้วยอย่างหรูอ่ะ เป็นช่วงนี้ดีดมาก ช่วงนั้นเรียนปี 3 วิชาเรียนแลปของเภสัชก็เยอะอยู่แล้ว บางวันทำแลปสกัดสารเสร็จต้องเขียนรายงานของแลปที่เป็นวิชาเรียนต่อจนเกือบเช้า พอเช้าก็ไปทำแลปอีกวิชานึง จนคุยกับคู่หูทำแลปว่าเราควรจะนอนกันบ้างหล่ะ
.
เวลาเรียนล่วงเลยมาถึง ปี 3
ก็ได้กลับไปดูงานที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ตามที่ตั้งใจไว้
ตอนนั้นอาจารย์ที่ปรึกษา อ.ปาจรีย์
ช่วยเรื่องเอกสารทุกอย่างเลย รักจารย์มากมาย
อ. บุษบรรณ สอน sterile เทคนิค
เปิดห้องแลปเทคโนเพื่อจะเช็ดตู้ laminar air flow
คือเราตื่นเต้นกระทั่งเช็ดตู้
ตัดภาพมาตอนนี้ ขี้เกียจเช็ดตู้สุดๆ
.
อ เกรียงศักดิ์ ที่ CRI ให้ไปดูงาน 5 วัน
ตอนแรกก็รู้สึกว่าแป๊ปเดียวจังเลย T^T
ตั้งตาคอยมาตั้งหลายปี แงงง
ก็แคะกระปุกเอาตังค์เก็บเป็นทุนไปดูงาน
ก็ขอพักกับหอเพื่อน และซื้อข้าวโรงอาหาร
ม เกษตร ข้าวราคาถูกมากกกก
อ ทัศนี เตือนไว้ว่าระวังข้าวที่ CRI ไว้
เพราะไม่อิ่มแน่ๆ แล้วคือจริงงง
ได้เจอพี่อัง แลปชั้นใกล้ๆ เพราะ อ ทัศนีฝากฝังไว้
แล้วก็เป็นครั้งแรกที่รู้จักขนมอร่อยๆแถวนั้น
.
นับเป็นช่วงชีวิตที่ adventure มากกับรถเมล์ กทม.
แต่ที่เด็ดกว่าคือรถไฟหน้า CRI แบบโอ้วโหวววว
ไฟขาวๆ มาแต่ไกล วิ่งแทบไม่ทัน
.
กลับมาเรื่องงานวิจัยมะเร็ง 555
เป็น 5 วันที่คุ้มค่ามาก ได้ดูตั้งแต่เลี้ยงเซลล์ ไปจนถึงการตรวจหาโปรตีน
เดินตามอาจารย์และพี่ๆคนอื่นแทบทั้งวัน
ทั้งวันได้คิด ได้ถาม แต่โดยมากถามไปก็จะโดนอาจารย์ถามกลับ 555
แต่ละวันผ่านไปแบบให้สมองไปเยอะมาก
ปวดหัวและปวดขามากไปพร้อมๆกัน
หลังจากดูงานครบเวลา
อาจารย์ยังเชียร์ให้ไปดูงานที่อื่นอีก
อ ปริ้นข้อมูลแลปนู้นแลปนี้มาให้เป็นปึกๆเลย
.
หลังจากใช้เวลาค้นหาตัวเองอยู่พักใหญ่
ก็เริ่มรู้สึกแล้วว่าอะไรเป็นสิ่งที่ทำให้หัวใจเราลิงโลด
อาจจะเป็นมะเร็งในมุมของงานวิจัยก็ได้ที่เป็นคำตอบ
.
แต่ก็ถึงเวลาที่ต้องกลับมาเรียน ป ตรี ต่อให้จบด้วย
ทั้งยังเป็นช่วงที่คณะมีโครงการ Mini project
ที่ทำให้ต้องคิดหนักว่าตกลงเราชอบอะไรกันแน่
.
ในช่วงเวลาที่ต้องตัดสินใจว่าจะเรียนจบเภสัชแล้ว
จะทำอย่างไรต่อกับอนาคต
ก็เป็นช่วงที่อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นคนที่มีผลต่อการตัดสินใจมากที่สุด
ในช่วงเวลาที่เป็นอีกหัวเลี้ยวหัวต่อนึงของชีวิต
ไว้ค่อยเล่าตอนต่อไปหล่ะกัน ตอนนี้ยาวมากๆแล้ว
.
ตอนอื่นๆ ของการบุกดงวิจัยที่เคยเขียนไว้- ตอนที่ 0: สะเปะสะปะกว่าจะมาถึงเส้นทางวิจัย
- ตอนที่ 1: ค่ายไม่เล็กที่มีแต่ผู้ใหญ่ใจดีปูทางเด็กบ้านนอกสู่เส้นทางวิจัย
- ตอนที่ 2: ตรึงใจเด็ก ม.ปลาย เปิดโลกวิจัยที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
- ตอนที่ 3: ตะลุยดงวิจัย ทำไมวิจัยมีมะเร็งมีหลายแบบจัง
- ตอนที่ 4: รู้จักมะเร็งแบบเหนือชั้น เหนือพันธุกรรมคืออะไร
- ตอนที่ 5: เมื่อฉันรักวิทยาศาสตร์ อย่างที่ไม่สนมะรงมะเร็งอะไรทั้งนั้น
- ตอนที่ 6: ปริญญาเอก วิชาหนังชีวิต Scientific Lineage และผู้ช่วยชีวิตอย่าง Mentor
.
#NamthipPhDstory
#NamthipCancerResearchJourney
#NoCancer #NoCancerTH
ปล. ภาพนี้ ดูน่าเชื่อถือมากอ่ะ ไม่เหมือนตัวจริง 55555
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น