Namthip × งานวิจัยมะเร็ง ตอนที่ 4
เท้าความตอนที่แล้วๆมา
หลังจากที่ค้นหาตัวเองจนเจอว่า
อยากมุ่งไปรู้จักมะเร็งมากขึ้นในทางของวิทยาศาสตร์
พิสูจน์ให้เห็นกันได้
ได้ไปดูงานสั้นๆ ที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (CRI)
พร้อมกับแบกกระดาษอีกหนึ่งปึกกลับบ้าน
.
กลับมามหาลัยครั้งนี้
รอบปิดเทอมเปลี่ยนแปลงไป เลยมีช่วงว่าง
ว่างที่เพื่อนคนอื่นเค้าไปเที่ยว ตปท บ้าง
ทำงานพิเศษบ้าง
ส่วนช้านนนน แคะกระปุก
เอาตังค์ไปฝึกงานที่แลปอีกแล้วจ้า
.
กลับมาที่กระดาษปึกโตจาก CRI
ปึกนั้นมีรายชื่อนักวิจัยชั้นเซียนที่อาจารย์รู้จัก
ให้ดูว่าเราสนใจไปฝึกแลปไหนต่อ
ทั้งพันธุศาสตร์มะเร็ง พัฒนาระบบนำส่งยามะเร็ง
สารพัดเลยหล่ะ
.
คิดหนักว่าจะไปที่ไหน น่าสนใจทุกที่เลย
เครียดละทีนี้ ตัดสินใจไม่ได้
จนมาสะดุดตากับภาพอาจารย์คนนึง
ฮึ๋ยยยย คุ้นๆ
เราเคยอ่านข่าวงานของ อ เค้าตั้งแต่เรียนม.ปลาย
อาจารย์หมอท่านนี้ทำวิจัยมะเร็งโพรงหลังจมูก
เป็น idol เราเลย หมอที่ทำวิจัยด้วยนี่ สุดยอด
กลับไปคุ้ยลังที่บ้านก็เจอจริงๆ
โอโห้ปริ้นไว้นานโข แม็คเย็บกระดาษขึ้นสนิมหล่ะ
.
เอาหว่ะ ติดต่ออาจารย์คนนี้ไปเลย
อ อภิวัฒน์ ที่คณะแพทย์ จุฬา
(อ เป็นเจ้าของงานวิจัยมณีแดง)
.
มี อ หนิง อ ฉ่อย ช่วยดู
ทั้งเรื่องเอกสารและเรื่องเตรียมตัวก่อนไป
ปริ้นงานวิจัยของ อ อภิวัฒน์มาอ่าน
อ่านไปก็มึนไป
.
ถึงเวลาฝึกงาน ก็ไปกันเลยจ้า
หอบผ้าหอบสมบัติขึ้นรถไฟไปบางกอก
ด้วยความเบี้ยน้อย หอยน้อยและบังเอิญญญญ
พี่เมทตอนเรียนปี 1 (พี่นิท)เป็นพยาบาลที่ รพ จุฬา
ก็เลยได้ไปสิงหอพี่แก ตลอดเวลาฝึก 1 เดือน
ได้ค้นพบแหล่งของกินถูกๆ แถวนั้นด้วย
.
แต่ความยากคือ มันคือหอพักพยาบาล ใน รพ จุฬาฯ
และอิฉันต้องปลอมตัวเข้า-ออกหอ
น้ำทิพย์ผู้แบกชุดใส่เป๋ามาเปลี่ยนใน รพ ทุกวัน
จนมีพี่ post doc (พี่คิว)มาเจอ 5555
หนูปลอมตัวอยู่ค่ะพี่ อายจ๊าดดดด
.
การฝึกงาน 1 เดือน เป็นไปแบบ…
ฝึกไป จะร้องกลับบ้านไป แงงงงง
ไม่เคยห่างบ้านนานขนาดนี้
เนื้อหาก็ยาก แงงงงง
.
ภาวะเหนือพันธุกรรม (epigenetics)
ไม่ได้เป็นเรื่องที่เคยเรียนมาก่อน
มาปุ๊บเจองานวิจัยระดับโมเลกุล
เงิบ ไปเกือบไม่เป็นเลย
ไปอ่าน ไปขุด ไปหาเอาแถวนั้น
.
รอดมาได้นี่เพราะพี่ๆในแลปใจดีเลยหล่ะ
อ่านไรงงๆมึนๆไป ก็ไปคุยกับพี่ๆ
พี่เค้าก็ช่วยอธิบายจนเข้าใจ
.
ตอนนั้นพี่แพร ซึ่งกำลังเรียน ป โท เป็นพี่เลี้ยงให้
มี อ นครินทร์ อ พี่ยุ้ยให้พวกเราก่อกวนด้วย
พี่ณัฐเป็นพี่หมีประจำแลป
พี่ณัฐมักจะโผล่มาจากตรงไหนสักตรงของแลป
แล้วก็มาอธิบายไรแบบเป๊ะๆ
เป๊ะยันว่าทำไม แอลกอฮอล์ต้อง 70% เอาดี๊
พีอ๊อป ชาวใต้บ้านอยู่คอน แหลงกันรู้เรื่องเป็นพิเศษ
อธิบายเรื่อง flow cytometry ยังจำได้จนถึงตอนนี้
ชาวแก๊งค์มุมห้องอย่างพี่แบงค์ พี่เหมย
.
ใดๆคือนอกจากสอนเรื่องวิจัยแล้ว
พวกพี่คือหลอกผีเก่งมากกกกก
ชั้นล่างจากแลปก็คือห้องเรียนกับอาจารย์ใหญ่
แล้วฉันออกไม่เคยออกจากแลปเป็นคนสุดท้ายเลยจ่ะ
.
ท็อปฟอร์มการหลอกผีคือพี่ณัฐ
แล้วตอนนี้คือพี่ณัฐไปสวรรค์แล้วด้วย
ถ้ากลับไปลั้ลลาที่แลปรอบหน้า
จะโดนหลอกแหลกลานกว่าเก่ามั้ยนะ แหะๆ
.
จุฬาทำให้ได้เข้าฟังพี่ๆสอบ defense บ้าง
กรรมการสอบถามโหดมาก
แต่พี่เค้าก็ตอบได้หมดแบบชิลๆ
เป็นต้นแบบชั้นเลิศเลย
จนตอนนี้เวลาสอบอะไรเกี่ยวกับงานวิจัย
ก็จะนึกถึงตอนพวกพี่ๆเค้าสอบ อยากเซียนๆแบบนั้น
.
ระหว่างฝึกแลปที่จุฬาก็มี อ จากมหาลัย
แวะเวียนมาดูใจ เอ้ยยย ให้กำลังใจ
อ โอ๋ พาไปกินขนม
อ หนิง พาไปนอนด้วยคืนนึง 555
อ มาก็คือมาเพราะอยากมาจริงๆ
ที่จริง อ ไม่ต้องมานิเทศด้วยซ้ำ
เพราะไม่ใช่ฝึกงานของหลักสูตรเลย
.
การฝึกงานตอนนั้นจบลง
แบบที่คิดว่าพันธุศาสตร์จ๋าๆ นี่มันยากแท้
ยิ่งเหนือพันธุศาสตร์แบบจ๋าๆนี่ยิ่งซับซ้อนไปอีก
.
หรือว่าเราควรห่างกันสักพักนะ
กับงานวิจัยซับซ้อนขนาดนั้น
ดูๆไปก่อนก็ได้ ยังไม่ขึ้นปี 4 เลย
ยังเหลือเวลาให้ตามหางานวิจัยมะเร็งที่ชอบอยู่
.
ตอนอื่นๆ ของการบุกดงวิจัยที่เคยเขียนไว้
- ตอนที่ 0: สะเปะสะปะกว่าจะมาถึงเส้นทางวิจัย
- ตอนที่ 1: ค่ายไม่เล็กที่มีแต่ผู้ใหญ่ใจดีปูทางเด็กบ้านนอกสู่เส้นทางวิจัย
- ตอนที่ 2: ตรึงใจเด็ก ม.ปลาย เปิดโลกวิจัยที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
- ตอนที่ 3: ตะลุยดงวิจัย ทำไมวิจัยมีมะเร็งมีหลายแบบจัง
- ตอนที่ 4: รู้จักมะเร็งแบบเหนือชั้น เหนือพันธุกรรมคืออะไร
- ตอนที่ 5: เมื่อฉันรักวิทยาศาสตร์ อย่างที่ไม่สนมะรงมะเร็งอะไรทั้งนั้น
- ตอนที่ 6: ปริญญาเอก วิชาหนังชีวิต Scientific Lineage และผู้ช่วยชีวิตอย่าง Mentor
.
#NamthipPhDstory
#NamthipCancerResearchJourney
#NoCancer #NoCancerTH
.
ผ่านไป 10 ปี ไม่รู้เรื่องราววนมาอีท่าไหน
ตอนนี้กำลังลองเอา data sequencing ของพวก epigenetics มาลองเล่นดู
.
ผ่านมา 10 ปี คน 2 คนในโพสต์นี้
ไปเป็นนางฟ้า เทวดาบนสวรรค์กันซะแล้ว
ด้วยความระลึกถึง อ หนิง และ พี่ณัฐ นะคะ ^^
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น